บรรเทาอาการซึมเศร้าด้วยน้ำมันหอมระเหย

ด้วยสภาพแวดล้อมในปัจจุบันนี้มีการแข่งขันกันอยู่หลายด้าน และยังมีความกดดันในหลาย ๆ ด้าน ทำให้หลายคนนั้นต้องเผชิญกับความกดดัน จนอาจกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้

แต่ก็สามารถใช้ธรรมชาติที่ใช้ช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ อย่างน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากการสกัดจากพืชเข้มข้นที่เข้มข้น ซึ่งไม่ใช่แค่มีประโยชน์เพียงแค่บรรเทาอาการซึม แต่ยังมีประโยชน์ทั้งไล่ยุง บรรเทาอาการเมื่อยล้า ได้เป็นอย่างดี ทั้งยังช่วยให้นอนหลับสบายอีกด้วยนะคะ

วันนี้จึงหยิบยกเรื่องของประโยชน์จากน้ำมันหอมระเหยที่ใช้บำบัดและบรรเทาอาการซึมเศร้ามาฝากค่ะ  

https://www.thaiheartfound.org/Article/Detail/140339

น้ำมันหอมระเหย บรรเทาอาการซึมเศร้า มีอะไรบ้าง

ลาเวนเดอร์

กลิ่นหอมที่ได้จากดอกลาเวนเดอร์ นั้นเมื่อได้กลิ่นหรือสูดดมจะรู้สึกสงบ คลายกังวล ผ่อนคลายอารมณ์ หากคุณเหนื่อยล้าและต้องการผ่อนคลายก็ไม่ควรที่จะพลาดที่จะจุดเทียนหรือกำยานที่ได้จะดอกลาเวนเดอร์ไว้ในห้องนะคะ เพียงแค่นี้ก็ทำให้รู้สึกสดชื่นได้เป็นอย่างดีค่ะ

ดอกกะทือ

ดอกไม้ไทยที่ชื่อออกจะไม่คุ้นหูสำหรับบางคน แต่มีได้มีการศึกษาพบว่าดอกกะทือนั้นมีส่วนช่วยต้านภาวะซึมเศร้าได้ เพราะน้ำมันหอมระเหยจากดอกกระทือนั้นมีสรรพคุณช่วยให้คลายเครียด ช่วยลดการหลั่งของฮอร์โมนทที่ชื่อคอร์ติซอล อันเป็นตัวที่ให้เกิดความเครียดลดลงได้

มะกรูด

กลิ่นหอมที่ยอดนิยมอันดับต้น ๆ ที่หลายคนนิยม นั่นคือ กลิ่นจากมะกรูด มะกรูดนั้นสามารถช่วยลดความกังวลใจ แล่ะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี เคยมีการศึกษาพบว่าเมื่อผู้ป่วยที่เตรียมผ่าตัดได้รับการสูดดมน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดแล้ว ช่วยลดความกังวลก่อนการเข้าผ่าตัด และผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี คะ

จะใช้น้ำมันหอมระเหยอย่างไรให้ได้ผล

สำหรับการใช้งานน้ำมันหอมระเหยให้ได้ผลนั้น ส่วนมากจะได้จากสูดดมเพราะจะมีส่วนช่วยกระตุ้นระบบประสาทได้เป็นอย่างดี หรืออีกวิธีคือ การดูดซึมผ่านผิวหนังซึมผ่านเข้าสู่กระแสเลือด ก็จะทำให้ผู้ใช้ได้รับผลได้เป็นอย่างดี ดังที่เราสามารถพบได้ตามสปา ที่นิยมนำน้ำมันหอมระเหย มาใช้ถาตามผิวกาย และยังจุดกำยาน หรือเทียนหอม นั่นเองค่ะ 

และนอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ที่ได้รับการนวดด้วยน้ำมันหอมระเหยติดต่อกันเป็นระยะเวลาที่นานถึงหนึ่งสัปดาห์ นั้นจะรู้สึกเจ็บปวดน้อยลง และอากาซึมเศร้าก็ลดลงด้วย

ข้อควรระวังในการใช้ น้ำมันหอมระเหย

 บางคนอาจมีอาการแพ้น้ำมันหอมระเหยได้ จึงควรนำไปเจือจางก่อนนำไปใช้ แล้วนำมาลองทาในปริมาณน้อย ๆ ที่ใต้ท้องแขนแล้วทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที ถ้ามีผืนแดงควรหลีกเลี่ยงการใช้

และสำหรับผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับระบบการหายใจ ไม่ว่าจะเป็นหืดหอบ และผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ รวมถึงเด็กเล็ก ก็ไม่ควรที่จะใช้นะคะ หรือถ้าจะใช้ก็ควรอยู่ภายใต้การดูแลของหมอนะคะ

ขอบคุณภาพจาก : https://www.scentandsense.co.th/

#การดูแลสุขภาพเบื้องต้น #รักสุขภาพ #วิธีดูแลสุขภาพ #ดูแลตัวเอง