หากพูดถึงเชื้อไวรัสโคโรน่าหรือ covid-19 ทุกคนคงจะรู้จักกันเป็นอย่างดีถือเป็นโรคที่อยู่คู่กับคนไทยมาหลายปีเลยทีเดียวซึ่งโรค covid-19 นี้เกิดจากการสัมผัส ใกล้ชิดผู้ที่มีเชื้ออยู่โดยในปัจจุบันได้มีการผลิตวัคซีนออกมาจำนวนมากเพื่อป้องกันและลดอาการรุนแรงที่เกิดจาก covid-19 ซึ่งการป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อนั่นคือการกักตัว การแยกตัวและการเว้นระยะห่าง หลายคนอาจจะเคยเป็น covid-19 แล้วหลังจากที่หายนั้นบางคนจะมีอาการโพสต์โควิด (Post – COVID 19 Condition) หรือ ลองโควิด (Long COVID) เป็นอาการที่จะพบได้ในผู้ป่วย covid-19 ได้รับเชื้อตั้งแต่ 4 – 12 สัปดาห์ขึ้นไป โดยแต่ละคนจะมีอาการที่แตกต่างกันไปซึ่งอาการที่พบได้บ่อย เช่น
- ไอ
- หอบ
- เหนื่อยง่าย มีอาการอ่อนแรงจากการออกแรง เช่น เดิน วิ่ง ยกของ ออกกำลังกาย เป็นต้น
- รู้สึกหายใจติดขัด หายใจลำบาก
- จมูกไม่ได้กลิ่นและสูญเสียการรับรสชั่วคราว
- ปวดศีรษะ
- มีไข้ขึ้นสูง
- นอนหลับยาก
วิธีการรักษาจากโพสต์โควิด (Post – COVID 19 Condition) หรือ ลองโควิด (Long COVID) โดยผู้ป่วยจะต้องสังเกตความผิดปกติของร่างกายหลังจากที่หาย covid-19 เมื่อมีอาการผิดปกติให้ไปพบแพทย์โดยเร็วและผู้ป่วยควรที่จะตรวจร่างกายเป็นประจำเพื่อตรวจเช็คความผิดปกติของร่างกายอยู่เสมอ บางคนอาจจะมีภาวะแทรกซ้อนจากลองโควิด ได้แก่
- กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้ออื่นๆ เช่น แบคทีเรีย ปรสิต ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก ใจสั่น ขาบวม เท้าบวม เหนื่อยง่ายและมีไข้ ผู้ป่วยสามารถป้องกันการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้โดยการรักษาความสะอาดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสและหลีกเลี่ยงสารเคมีหรือสารเสพติดทุกชนิด
- สมองล้า (Brain Fog) เกิดจากการที่สมองถูกใช้งานอย่างหนักต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน สาเหตุส่วนใหญ่จะมาจากความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ ขาดสารอาหาร หรือการทานอาหารที่มีสารพิษปนเปื้อน ผู้ป่วยจะมีอาการนอนไม่หลับ ปวดศีรษะ สายตาอ่อนเพลีย หงุดหงิดอารมณ์แปรปรวน ไม่มีสมาธิในการทำงานและความจำสั้น
- โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)
- โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) เกิดจากอาการปวดตามกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นโดยเฉพาะบ่า ไหล่ ศีรษะและหลังผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า หลับไม่สนิท มีความคิดสมาธิและความจำลดน้อยลง อาจจะมีอาการร่วมอย่างอื่น เช่น ปวดศีรษะ ปวดกราม ชาตามมือและเท้า
- ภาวะพร่องทางระบบประสาทอัตโนมัติ (Dysautonomia)
สำหรับใครที่เพิ่งหายจากอาการป่วยเป็น covid-19 ไม่ควรออกกำลังกายที่หนักและออกแรงมากเกินไป เพื่อไม่ให้ปอดทำงานหนักและร่างกายจะได้ปรับตัวเข้าสู่สภาวะที่แข็งแรงเช่นเดิม
ภาพจาก : vejthani
ภาพจาก : medicallinelab
#การดูแลสุขภาพเบื้องต้น #รักสุขภาพ #วิธีดูแลสุขภาพ