สิ่งที่ผู้คนซึ่งดำรงชีวิตอยู่ในโลกปัจจุบันต้องเผชิญก็คือ ปัญหาการไม่ได้เตรียมอาหารเพื่อรับประทานเอง ต้องพึ่งพาอาหารนอกบ้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหารจานด่วนแบบตะวันตกหรือแม้แต่ข้าวราดแกงแบบไทยๆ ก็มักจะไม่ค่อยมีผักมาปรากฎให้เห็น นอกจากนั้น การหาผลไม้มาบริโภคก็ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายนัก
แต่ร่างกายก็ยังจำเป็นต้องได้รับประโยชน์จากผักผลไม้ ซึ่งความสำคัญของผักผลไม้ที่มีต่อสุขภาพร่างกายนั้นก็มีอยู่หลายประการ หากพิจารณาเชิงโภชนาการแล้ว ผักผลไม้จัดเป็นแหล่งของวิตามิน โดยเฉพาะวิตามินที่ละลายน้ำได้คือ วิตามิน บี และ ซี อีกทั้งยังมีแร่ธาตุมากมายหลายชนิด
ตัวอย่างเช่น ผักรับประทานใบหลายชนิดที่มีใบสีเขียวเข้มจะเป็นแหล่งของแคลเซียมที่ช่วยบำรุงกระดูก ตอนเด็กๆ นักโภชนาการมักจะแนะนำให้ดื่มนม แต่ครั้นโตขึ้นมา อาจจะดื่มนมไม่ได้แล้ว ก็หันมารับประทานผักคะน้าซึ่งเป็นแหล่งของแคลเซียมแทนได้
ผักผลไม้ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง
ผลการศึกษาที่ดำเนินการกับผู้เข้าร่วมกว่าสี่แสนคน พบว่า ผู้ที่บริโภคผักผลไม้มากขึ้นจะมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดลดลง การศึกษาดังกล่าวเป็นการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดและยาวนานที่สุดจนถึงปัจจุบัน โดยเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาสุขภาพของผู้เข้าร่วมโดยมีพยาบาลและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพติดตามผลการศึกษา ในระยะเวลาติดตาม 14 ปี ยิ่งบริโภคผักผลไม้มากเช่น ผู้ที่บริโภคผักผลไม้เฉลี่ยตั้งแต่ 8 เสิร์ฟ/วัน จะมีโอกาสหัวใจวายหรือเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เพียง 30%
ผักผลไม้ที่ยังประโยชน์ด้านนี้ ประกอบด้วย ผักใบเขียว เช่น ผักกาดหอม ผักโขม สวิสชาร์ด และมัสตาร์ดเขียว ผักตระกูลกะหล่ำเช่น กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี และเคล ส้ม และเกรปฟรุ้ต
ผักผลไม้กับโรคเบาหวานและภาวะน้ำหนักเกิน
เป็นสิ่งที่ปฎิเสธไม่ได้ว่าภาวะน้ำหนักเกินกับโรคเบาหวานนั้นเกี่ยวข้องกัน ในการศึกษาผู้หญิงกว่า 70,000 คน ที่มีอายุระหว่าง 38-63 ปี และไม่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน พบว่า ผู้ที่บริโภคผักผลไม้จะมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานต่ำ โดยผักผลไม้ที่ช่วยลดความเสี่ยงจะประกอบด้วย ผลเบอร์รี่ โดยเฉพาะบลูเบอร์รี่ องุ่น และแอปเปิ้ล แต่การดื่มน้ำผลไม้มากขึ้นกลับทำให้ความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สูงขึ้น ในขณะที่ผลการติดตามข้อมูลด้านสุขภาพ แสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงและผู้ชายที่เพิ่มการบริโภคผักผลไม้ในช่วง 24 ปี มีแนวโน้มที่น้ำหนักจะลดลงไปโดยผักผลไม้ที่บริโภคจะประกอบด้วย ผลเบอร์รี่ แอปเปิ้ล แพร์ ถั่วเหลือง และกะหล่ำดอก แต่การรับประทานผักที่อุดมด้วยแป้งอย่าง มันฝรั่ง หรือข้าวโพด จะเชื่อมโยงกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น
ผักผลไม้มีเส้นใยย่อยซึ่งดูดซับน้ำและขยายตัวในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งช่วยระงับอาการลําไส้แปรปรวนและทำให้ลําไส้เคลื่อนไหวปกติ สามารถบรรเทาหรือป้องกันอาการท้องผูก การแข็งตัวของเส้นใยที่ไม่ละลายน้ำยังช่วยลดความดันภายในลําไส้ได้ ดังนั้นรับประทานผักผลไม้เป็นประจำจะช่วยให้ย่อยง่ายถ่ายคล่อง นอนหลับสบาย ไม่อึดอัดเพราะท้องผูก
เครดิตภาพจาก pixabay.com
#วิตามินผลไม้ #ประโยชน์ผลไม้ #ผลไม้ป้องกันโรค