อาหารกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่นักโภชนาการแนะนำ

         วิธีที่สำคัญที่สุดวิธีหนึ่งในการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงคือ มีนิสัยที่เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ได้แก่ การนอนหลับให้เพียงพอ  จัดการกับความเครียด  กระตือรือร้นล้างมือให้ถูกต้อง  และรับประทานอาหารที่ดี ในขณะที่ไม่มีอาหารหรืออาหารเสริมชนิดใดสามารถ “รักษา” หรือแม้แต่ป้องกันไม่ให้คุณติดเชื้อไวรัสอย่างโคโรนาไวรัส ได้ 100% แต่อาหารบางชนิดก็ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันได้ นี่คือตัวเลือกอันดับแรกๆ ที่ควรหามารับประทาน

ผักกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

ผักจำพวกมันเทศและแครอทเป็นแหล่งเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ สารอาหารนี้ช่วยระบบภูมิคุ้มกันโดยช่วยในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งต่อสู้กับแบคทีเรียและไวรัส นอกจากนี้ยังช่วยสร้างเยื่อเมือกที่เกาะทางเดินหายใจซึ่งทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคออกจากร่างกาย สำหรับขมิ้นมีสารเคอร์คูมิน  ซึ่งเป็นสารประกอบธรรมชาติในขมิ้นที่ต้านการอักเสบ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันและเพิ่มการตอบสนองของแอนติบอดี การผสมขมิ้นกับพริกไทยดำช่วยเพิ่มการดูดซึมของเคอร์คูมินอย่างมีนัยสำคัญ   ในผักสีเขียวมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยต้านการอักเสบ  รวมทั้งมีสารอาหารหลักที่รู้จักกันดีว่าช่วยในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ วิตามิน เอ ซี และโฟเลต ตลอด จนมีมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันในลำไส้ซึ่งเป็นที่ตั้งของเซลล์ภูมิคุ้มกัน 70-80% ผักใบเขียวดังกล่าวเช่น เคล คะน้า ผักโขม  กระเทียมก็เป็นผักอีกชนิดที่ผลการวิจัยระบุถึงความสามารถในการสนับสนุนภูมิคุ้มกัน เพราะอาสาสมัครที่ได้รับอาหารเสริมกระเทียมทุกวันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ตลอดช่วงฤดูหนาว มีอาการหวัดน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และพวกเขาจะหายเร็วขึ้นหากพวกเขาติดเชื้อ

ผลไม้กระตุ้นภูมิคุ้มกัน

ผลไม้รสเปรี้ยวและพริกหวานสีแดงมีวิตามินซี ซึ่งเป็นสารอาหารระดับซูเปอร์สตาร์ ที่สนับสนุนระบบภูมิคุ้มกัน ในการศึกษาผู้ที่ติดเชื้อทางเดินหายใจ พบว่ามีระดับวิตามินซีในเลือดต่ำ  ซึ่งการวิจัยแนะนำให้บริโภควิตามินซีประมาณ 200 มก.ต่อวันเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ทั้งนี้ส้มขนาดกลางหนึ่งลูกให้วิตามินซี 70 มก. เกรปฟรุตมีวิตามินซีเกือบ 90 มก. และพริกหยวกแดงดิบขนาดกลางมีวิตามินซี 150 มก.  ผลิตภัณฑ์ผลไม้อีกอย่างคือ น้ำทับทิม เป็นอาหารที่สนับสนุนภูมิคุ้มกันผ่านฤทธิ์ต้านจุลชีพและต้านการอักเสบ สารต้านอนุมูลอิสระฟลาโวนอยด์ที่พบในน้ำทับทิมยังแสดงการต่อต้านไวรัสและลดระยะเวลาการเป็นหวัดได้มากถึง 40%

นัทและถั่วกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

เมล็ดทานตะวันและอัลมอนด์ นอกจากมีวิตามินซีแล้ว ยังมีวิตามินอีที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกัน วิตามินที่ละลายในไขมันนี้ช่วยเพิ่มการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกัน ที่สามารถป้องกันแบคทีเรียและไวรัสที่รุกราน เมล็ดทานตะวันหนึ่งออนซ์หรือหนึ่งในสี่ถ้วยให้วิตามินอีประมาณครึ่งหนึ่งของปริมาณที่แนะนำต่อวัน  ส่วนอัลมอนด์ขนาดเท่ากันมีวิตามินอี 45% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน  นัทอีกชนิดคือ บราซิลนัท  โดยน้ำหนัก 1 ออนซ์ให้ซีลีเนียมเกือบ 1,000% ของปริมาณแนะนำต่อวัน ธาตุซีลีเนียมนี้ถ้าได้รับน้อยเกินไปที่จะชะลอการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน  บทบาทที่สำคัญอีกอย่างของซีลีเนียมคือ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีศักยภาพซึ่งหมายความว่าทำหน้าที่เหมือนผู้คุ้มกันเพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์ถูกโจมตีและถูกทำลายดีเอ็นเอ วอลนัทนอกจากจะเป็นหนึ่งในอาหารต้านการอักเสบอันดับต้นๆ แล้ววอลนัทยังมีสารอาหารหลายชนิดที่มีบทบาทในการสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกัน  นอกจากนี้ วอลนัทยังลดความเครียดทางจิตใจและความเครียดที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง   ส่วนถั่วอบและเมล็ดฟักทองก็สำคัญ เพราะถั่วอบหนึ่งถ้วยให้สังกะสีมากกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณที่แนะนำต่อวันและเมล็ดฟักทองหนึ่งออนซ์หรือสี่ถ้วยมี 20% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน   สังกะสีมีอิทธิพลต่อระบบภูมิคุ้มกันในหลายๆ ด้าน

เครดิตภาพจาก pixabay.com

#อาหารกระตุ้นภูมิ #กระตุ้นภูมิคุ้มกัน #อาหารสุขภาพ