เชื่อว่าหลายๆ คน คงจะได้ยินหรือคุ้นเคยกับการบริจาคเลือดกันมาบ้างแล้ว คราวนี้อยากจะแนะนำให้ลองมาบริจาคพลาสมากันดูกันบ้างคะ หลายคนคงจะสงสัยใช่ไหมคะว่า การบริจาคพลาสมาคืออะไร แล้วทำไมจึงต้องบริจาค วันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากค่ะ ตามมาดูกันเลย
บริจาคพลาสมา ก็ช่วยชีวิตคนได้เหมือนกันนะ
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักพลาสมากันก่อนนะคะว่าคืออะไร พลาสมาคือ ส่วนประกอบของเลือดค่ะ มีลักษณะเป็นสีเหลืองใส ในพลาสมานั้นจะประกอบไปด้วย น้ำ เอนไซม์ เกลือแร่ วิตามิน ก๊าซ และฮอร์โมน ค่ะ พลาสมานี้มีหน้าที่สำคัญหลายอย่างเลยนะคะ เช่น ควบคุมค่าความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ทำให้กระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรง รวมไปถึงช่วยให้เลือดหยุดไหลเวลาที่เรามีเลือดออกด้วยค่ะ เพราะพลาสมามีความสำคัญแบบนี้ ทางการแพทย์จึงมีความต้องการพลาสมาไม่ต่างจากความต้องการเลือดเลยค่ะ ทีนี้หากเราอยากจะบริจาคพลาสมาต้องทำตามนี้ค่ะ
- ต้องมีอายุตั้งแต่ 18-60 ปีค่ะ
- ต้องเป็นคนที่สุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อชนิดร้ายแรง หรือ ไม่มีโรคประจำตัวค่ะ
- มีน้ำหนัก 55 กิโลกรัมขึ้นไป
- ต้องเคยบริจาคเลือดมาแล้วอย่างต่อเนื่องนะคะ อย่างน้อย 1 ครั้งและต้องไม่เว้นช่วงนานเกิน 6 เดือน
- สามารถมองเห็นเส้นเลือดชัดเจนที่ข้อพับทั้งสองข้างค่ะ
ในการบริจาคพลาสมาก็มีข้อดีอยู่หลายอย่างเลยนะคะ เช่น
- ได้รับการตรวจสุขภาพฟรีค่ะ เพราะในการบริจาคพลาสมานั้น ก่อนทำการบริจาคต้องมีการตรวจสุขภาพเบื้องต้นค่ะ ดังนั้นหากเรามาบริจาคพลาสมาเป็นประจำก็จะได้รับการตรวจสุขภาพไปด้วยในตัวเลยค่ะ
- ช่วยลดระดับไขมันชนิดไม่ดีในร่างกายได้ค่ะ ถ้าหากผู้ที่มีคอเรสเตอรอลสูงได้มาบริจาคพลาสมาก็จะช่วยให้ปริมาณคอเรสเตอรอลในเลือดลดลงด้วยนะคะ
- ช่วยกระตุ้นให้เราอยากมีสุขภาพที่แข็งแรงค่ะ เพราะในการบริจาคพลาสมานั้น ต้องเป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงจึงจะผ่านเกณฑ์ค่ะ ดังนั้นในการที่จะมีสุขภาพดีก็ต้องเริ่มจากการทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอค่ะ
- ทำให้เรารู้สึกมีความสุขกับการเป็นผู้ให้นะคะ มีผลการวิจัยระบุว่า ผู้ที่บริจาคพลาสมานั้น ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคซึมเศร้าและไม่เครียดด้วยค่ะ
รู้แบบนี้แล้วสนใจที่จะมาบริจาคพลาสมากันบ้างหรือยังคะ การบริจาคพลาสมานั้นสามารถทำได้ทุกๆ 14 วันนะคะ ก่อนมาบริจาคก็ต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมด้วยค่ะ แค่เราบริจาคก็สามารถช่วยชีวิตคนได้อีกหลายคนเลยละค่ะ
เครดิตภาพ : sanook.com
#บริจาคพลาสมา #พลาสมาคืออะไร #สุขภาพน่ารู้