อาการทั่วไปของโรคไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่จะเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อทางเดินหายใจ โดยผู้ป่วยจะได้รับเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า ไวรัสอินฟลูเอนซา (influenza virus) และไวรัสชนิดนี้ยังแยกออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ เอ บี และซี และแต่ละประเภทยังแยกสายพันธุ์ออกไปอีกอย่างมากมาย โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่สามารถพบได้ในคนทุกเพศทุกวัน ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในเด็กจะพบมากกว่า เพราะเด็กยังมีภูมิต้านทานโรคต่างๆ ไม่ดีพอ แต่ไวรัสของไข้หวัดใหญ่ที่พบระบาดมากที่สุดจะเป็นไวรัสประเภท เอ และไวรัสชนิดนี้ยังสามารถกลายพันธุ์ได้อีก ทำให้อาการของโรคอาจรุนแรงมากกว่าที่เป็นอยู่ได้

ภาพจาก thairath.co.th

อาการของไข้หวัดใหญ่

สำหรับอาการที่สามารถพบได้โดยทั่วไปของไข้หวัดใหญ่ บางครั้งจะคล้ายๆ กับไข้หวัดธรรมดา แต่อาการจะรุนแรงกว่า ทำให้เมื่อเป็นในช่วงแรกเราอาจจะแยกไม่ออก สำหรับอาการจะพอสรุปได้ดังนี้

1. ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย และเหมือนแขนขาไม่แรง ต้องการพักผ่อน

2. มีอาการปวดตามแขนขา เมื่อยเนื้อเมื่อยตัว ไม่สบายตัว และปวดที่บริเวณกระบอกตา

3. มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง มีน้ำมูก และมีอาการเจ็บคอ อาจมีเสมหะร่วมด้วย

4. รับประทานอาหารได้น้อย รู้สึกเบื่ออาหาร กลืนไม่ค่อยลง ไม่อยากอาหารเท่าที่ควร และบางรายอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมอยู่ด้วย

5. มีอาการไอแบบแห้งๆ เกือบตลอดเวลา

6. มีไข้ขึ้นสูง โดยในผู้ใหญ่จะมีไข้ขึ้นประมาณ 37-38 องศา และในเด็กจะมีอาการไข้ขึ้นสูงประมาณ 39-40 องศา ซึ่งถือได้ว่าค่อนข้างอันตราย โดยเฉพาะในเด็ก ผู้ปกครองควรใช้น้ำอุ่นเช็ดตัวเพื่อให้อุณหภูมิลดลง และควรรีบพาไปพบแพทย์โดยทันที เพราะเด็กอาจเกิดอาการชักเกร็งขึ้นได้ สำหรับในผู้ใหญ่ก็สามารถลดไข้ได้ด้วยกันใช้น้ำอุ่นเช็ดตามร่างกายเช่นเดียวกัน และควรพาไปพบแพทย์โดยด่วน

ภาพจาก maerakluke.com

แนวทางการรักษา

สำหรับโรคนี้ส่วนมากจะระบาดในช่วงฤดูฝน และจะติดต่อกันโดยผ่านทางระบบการหายใจ โดยการไอและจามของผู้ป่วย ก็จะทำให้ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดหรือสัมผัสเสมหะ ละอองน้ำลายเกิดติดเชื้อได้ สำหรับการรักษาส่วนใหญ่แพทย์จะให้ผู้ป่วยทานยาปฏิชีวนะ และรักษาตามอาการ สำหรับการป้องกันปัจจุบันสามารถรับวัคซีนได้ รวมทั้งสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาหากเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง

อาการต่างๆ ของโรคจะหายไปได้ภายใน 2-3 วัน แต่อาการน้ำมูกไหลจะหายในเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการไข้เกิน 3 วัน ควรไปพบแพทย์ เพื่อป้องกันการกลายพันธุ์ของไข้หวัดใหญ่ เพราะถ้ามีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นจริงอาจจะเป็นอันตรายถึงแก่เสียชีวิตได้ สำหรับแนวทางในการรักษาแต่ละคนอาจจะแตกต่างกัน โดยแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัย และสำหรับท่านใดที่สนใจอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่สามารถคลิกเข้าไปรับฟังกันได้ที่นี่เลยค่ะ >>

#โรคไข้หวัดใหญ่ #ไข้หวัดใหญ่ควรรู้ #ไข้หวัดใหญ่ระบาด