เบต้าแคโรทีนกับการลดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีในเลือด

แครอทเป็นแหล่งที่ดีของเบต้าแคโรทีนซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ แต่เพื่อให้ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากอาหารดังกล่าว ร่างกายจำเป็นต้องมีเอนไซม์ที่บางอย่างเพื่อสร้างวิตามินนี้  สำหรับสารเบต้าแคโรทีนเป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ทำให้แครอทมีสีส้ม มีผลการศึกษาในมนุษย์และสัตว์ทดลองที่แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนเบต้าแคโรทีนเป็นวิตามินเอจะช่วยลดคอเลสเตอรอลที่ “ไม่ดี” ในเลือดได้ เพราะฉะนั้นเบต้าแคโรทีนจึงมีบทบาทในการป้องกันการพัฒนาของหลอดเลือดที่นำไปสู่การสะสมไขมันและคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดแดง  ทั้งนี้โรคหัวใจและหลอดเลือดในหลอดเลือดเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตทั่วโลก

ร่างกายต้องใช้เอนไซม์บางอย่างเปลี่ยนเบต้าแคโรทีนเป็นวิตามินเอ

เบต้าแคโรทีนเปลี่ยนเป็นวิตามินเอด้วยความช่วยเหลือของเอนไซม์ที่เรียกว่า  เบต้าแคโรทีน ออกซิเจเนส 1  ทั้งนี้พันธุกรรมจะเป็นตัวกำหนดว่าร่างกายแต่ละคนมีเบต้าแคโรทีนออกซิเจเนส 1 อยู่มากหรือน้อย   โดยคนที่มีเอนไซม์ชนิดนี้น้อยก็อาจต้องการวิตามินเอ จากแหล่งอื่นๆ เพิ่มเติม   ทั้งนี้จากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารโภชนาการ ซึ่งวิเคราะห์ตัวอย่างเลือดและดีเอ็นเอจากผู้ใหญ่อายุระหว่าง 18-25 ปี ที่มีสุขภาพดี จำนวน 767 คน  พบความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมเบต้าแคโรทีนออกซิเจเนส 1 กับระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี  โดยคนที่มีพันธุกรรมที่ทำให้เอนไซม์เบต้าแคโรทีนออกซิเจเนส 1 ทำงานได้มากขึ้นจะมีคอเลสเตอรอลในเลือดลดลง  ประกอบกับผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารการวิจัยทางลิปิดโดยใช้หนูทดลองมาศึกษาพัฒนาการของหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งพบว่าเมื่อให้เบต้าแคโรทีนกับหนู  หนูนั้นจะมีระดับคอเลสเตอรอลลดลง หนูเหล่านี้จะมีแผลที่หลอดเลือดเล็กลงหรือมีคราบจุลินทรีย์ในหลอดเลือดแดง  ซึ่งหมายความว่า หนูที่ได้รับเบต้าแคโรทีนจะสามารถป้องกันหลอดเลือดมากกว่าหนูที่กินอาหารที่ไม่มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพนี้

กลไกของเบต้าแคโรทีนในการลดคอเลสเตอรอล

         วิถีทางชีวเคมีของกระบวนการที่เบต้าแคโรทีนทำให้ระดับคอเลสเตอรอลลดลง  โดยพิจารณา

ไปที่ตับซึ่งเป็นอวัยวะที่รับผิดชอบในการผลิตและหลั่งไลโปโปรตีนสู่กระแสเลือด รวมทั้งไลโปโปรตีนที่เรียกว่า คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี   โดยพบว่าหนูที่มีวิตามินเอในระดับสูง  การปลดปล่อยไขมันเข้าสู่กระแสเลือดจะช้าลง       สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างเอนไซม์เบต้าแคโรทีนออกซิเจเนส 1 กับคอเลสเตอรอลนั้น  โดยปกติแล้ว ถ้าในเลือดมีระดับเบต้าแคโรทีนที่สูงจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ก็อาจพบว่ามีบางครั้งที่เอนไซม์เบต้าแคโรทีนออกซิเจเนส 1 มีน้อย จึงทำให้เบต้าแคโรทีนที่รับเข้าสู่ร่างกายไม่ได้เปลี่ยนไปเป็นวิตามินเอ  ทั้งนี้มีประชากรมากถึง 50% ที่มีเอนไซม์ดังกล่าวน้อย นั่นหมายความว่าร่างกายของคนเหล่านั้นจะผลิตวิตามินเอที่มาจากพืชได้ช้าลง  เพราะฉะนั้นพวกเขาอาจต้องได้รับวิตามินเอโดยตรงจากแหล่งอาหารที่มาของสัตว์เช่น  นม  เนยแข็ง  เป็นต้น

         ดังนั้นการบริโภคแครอทเป็นแหล่งที่ดีของเบต้าแคโรทีน  เพื่อให้ร่างกายได้วิตามินเอนั้น  อาจจะไม่เป็นความจริงเสมอไป  เพราะการเปลี่ยนเบต้าแคโรทีนเป็นวิตามินเอต้องอาศัยเอนไซม์เบต้าแคโรทีนออกซิเจเนส 1  ซึ่งถูกกำหนดโดยพันธุกรรมว่าใครจะมีเบต้าแคโรทีนออกซิเจเนส 1 อยู่มากหรือน้อย   โดยคนที่มีเอนไซม์ชนิดนี้น้อยก็อาจต้องการวิตามินเอจากแหล่งอื่นๆ เพิ่มเติม

เครดิตภาพจาก pixabay.com

#เบต้าแคโรทีน #ลดคอเลสเตอรอล #กินเพื่อสุขภาพ