อาการความดันสูง คือ ภาวะที่ร่างกายมีค่าความดันโลหิตอยู่ในระดับที่สูงกว่าปกติมากๆ และสูงภายในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งภาวะนี้จะเกิดจากกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้วและไม่สามารถควบคุมระดับความดันให้อยู่ในระดับปกติได้ ซึ่งเราสามารถแบ่งระดับออกได้เป็น 2 ชนิดด้วยกัน คือ
อย่ามองข้าม อาการความดันสูง เพราะอาจเกิดอันตรายได้ง่าย ๆ
- ระดับความดันโลหิตสูงวิกฤต แต่ยังไม่พบผลเสียต่ออวัยวะสำคัญๆ เช่น สมอง หัวใจ หลอดเลือด ไต เป็นต้น อาการของผู้ป่วยชนิดนี้ จะมีอาการที่แสดงให้เห็น เช่น ปวดหัวรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน หายใจถี่ เจ็บหน้าอก
- ระดับความดันโลหิตสูงวิกฤติ และพบผลเสียต่ออวัยวะสำคัญ เช่น มีอาการความดันสูงเฉียบพลันจนทำให้เลือดออกในสมอง สมองขาดเลือด หัวใจขาดเลือด ไตวาย ต้องรีบทำการรักษาโดยด่วนเพราะอันตรายถึงชีวิต
โดยปกติวิธีลดความดัน ในกรณีที่ผู้ป่วยมีค่าความดันสูงเล็กน้อย แพทย์ก็จะให้ยามาทานและควบคุมการทานอาหารควบคู่กับการออกกำลังกายใช่ไหมคะ แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยที่มีอาการความดันสูง ต้องรีบทำให้ระดับความดันลดลงให้เร็วที่สุดค่ะ โดยอาจให้ยาลดความดันแบบฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ หรือ ทานยาลดความดันแบบออกฤทธิ์เร็ว เพื่อลดอันตรายต่ออวัยวะต่างๆ ทั้งนี้ในการลดความดันไม่ควรเกินร้อยละ 25 ภายในเวลา 2 ชั่วโมงนะคะ เพราะถ้าเกินจากนี้จะทำให้อวัยวะต่างๆ ขาดเลือด ซึ่งจะส่งผลให้อาการผู้ป่วยแย่ลงได้ค่ะ
วิธีลดความดันด้วยยา ไม่ว่าจะเป็นแบบฉีด หรือ แบบทานนั้น เมื่อแพทย์ได้ให้ยาและตรวจพบว่ามีระดับความดันลดลงบ้างแล้ว ก็ต้องคอยเฝ้าระวังและคอยตรวจวัดค่าความดันอยู่เสมอค่ะ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่ได้รับยาไม่เพียงพอจนทำให้ระดับความดันไม่ลด หรือ ได้รับยามากเกินไป และถ้าหากอยู่ในภาวะที่ร่างกายได้รับยามากเกินไป อาจทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำได้ เมื่อผู้ป่วยมีอาการทุเลาลงจนสามารถกลับบ้านได้ แพทย์จะแนะนำและให้ความรู้ในการปฏิบัติตัว เพื่อหลีกเลี่ยงอาการความดันสูงค่ะ ทั้งนี้ผู้ป่วยก็ควรปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดนะคะและต้องทานยาลดความดันอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทานอาหารและการใช้ชีวิตประจำวันด้วยค่ะ โดยการเลือกทานอาหารที่ช่วยลดความดันและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ที่ต้องให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดก็เป็นเพราะว่า ผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูงเฉียบพลันนั้นไม่สามารถควบคุมค่าความดันให้อยู่ในระดับปกติได้นั่นเองค่ะ
เครดิตภาพ : sanook.com
#อาการความดันสูง #ความดันอันตราย #วิธีลดความดัน