Clean Food กับ Healthy Food ต่างกันอย่างไร

หลาย ๆ อาจจะคงสงสัยและเกิดคำถามขึ้นในใจว่าอะไรคือ Clean Food และ Healthy Food มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร มีความสำคัญยังไง ซึ่งคำศัพท์เหล่านี้ไม่ใช่ของใหม่ที่พึงเกิดขึ้น แต่กำลังเป็นกระแสเป็นอย่างมากในช่วงหลัง ๆ นั่นอาจเป็นเพราะ ใคร ๆ ก็อยากมีสุขภาพที่ดี หันมาดูแลใส่ใจตัวเองกันมากขึ้น มาดูกันว่าศัพท์ทั้ง 2 คำนี้ หมายถึงอะไร ตามไปไขคำตอบพร้อมกัน

ความเหมือนหรือแตกต่างระหว่างอาหารคลีน กับอาหารเพื่อสุขภาพ

                  Healthy Food คำนี้มีผู้ให้ความหมายไว้กว้าง ๆ เอาไว้หลาย ๆ แหล่งแต่เมื่อรวมความแล้วก็คือ เป็นอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่มีสารปนเปื้อนจากสารเคมีต่าง ๆ รวมถึงอาหารที่ไม่มีน้ำตาล หรือไขมัน หากจะมีก็ไม่มากนัก มีคุณค่าทางโภชนาการสูง สะอาด ปลอดภัยลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่าง ๆ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยส่วนบุคคลอื่น ๆ ด้วย เช่น โรคประจำตัว พฤติกรรมการใช้ชีวิตในแต่ละวัน การนอนหลับพักผ่อน หรือแม้แต่การทำงาน เป็นต้น ทางองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ระบุเอาไว้ว่า การรับประทานอาหารที่ไม่มีคุณภาพ และไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอล้วนเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดโรคได้ทั้งสิ้น อาจกล่าวได้ว่า การจะมีสุขภาพที่ดีคือต้องทานอาหารให้ครบทั้งห้าหมู่นั่นเอง

                  ในส่วนของClen Food นั้นเป็นอาหารเพื่อสุขภาพเช่นกัน และไม่ผ่านการปรุงด้วยสารเคมีต่าง ๆ หรือมีการแปรรูปน้อยที่สุด สดสะอาด เน้นธรรมชาติของอาหารเป็นหลัก อย่างไรก็ตามยังมีปรุงแต่งรสชาติอยู่บ้างแต่ถูกต้องเหมาะสม เช่น มีความสุกที่พอดี ไม่ใส่เครื่องปรุงในปริมาณที่มากจนเกินไป จึงไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เป็นต้น การทานอาหารแบบคลีนนั้นจะเน้นให้ครบทั้ง 5 หมู่ในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม คือ คาร์โบไฮเดรต ผัก ผลไม้ โปรตีน และไขมัน ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ไม่เพียงแค่กินผักเพียงอย่างเดียว

เปิดประตูสู่สุขภาพ กินอย่างฉลาดแบบง่าย ๆ

              1. ใส่ใจในปริมาณไขมัน เนื่องจากเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสมอง หากขาดไขมัน การทำงานของร่างกายก็จะไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ปริมาณนั้นไม่สำคัญเท่ากับชนิด ดังนั้นควรเลี่ยงหรือลดไขมันไม่ดี เช่น ไขมันสัตว์ เนยเทียม น้ำมันพืชเก่าใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นต้น ควรหันมาทานไขมันดี อย่างเช่น น้ำมันมะกอก ถั่วเหลือง ข้าวโพด น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันงา และไขมันที่ได้จากปลาทะเลบางชนิด รวมถึงถั่วเปลือกแข็งด้วย

              2. เพิ่มการกินผักและผลไม้ เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระเป็นจำนวนมากที่มีหน้าที่แตกต่างกันออกไป เช่น คอโรฟิลล์ที่ได้จาผักใบเขียวจะช่วยในการดูดซับสารพิษในอาหาร อีกทั้งไม่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย จึงสามารถขจัดสารพิษไปพร้อม ๆ กับการขับถ่ายได้ สารซัลโฟราเฟน ในผักชนิดไร้แป้ง อย่างกะหล่ำปลี บรอกโคลี กระเทียม จะเข้าไปกระตุ้นให้เซลล์สร้างเอนไซม์เพื่อต่อสู้กับมะเร็งนานาชนิด แต่ต้องทานในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละวันคือไม่ควรน้อยกว่า 400 กรัม และทางที่ดีต้องทานให้มีความหลากหลายควบคู่กันไป

              3. ลดปริมาณน้ำตาล เนื่องจากจะส่งผลให้ได้รับพลังงานสูงมากเกินความจำเป็น อีกทั้งจะเปลี่ยนเป็นไขมัน นำมาซึ่งโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิต โรคหัวใจ และโรคอื่น ๆ เกิดขึ้นตามมาได้

              4. Healthy Food จากธรรมชาติดีกว่ามาจากสารเคมี เพราะผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่าง ๆ ทดแทนคุณค่าสารอาหารตามธรรมชาติไม่ครบถ้วน ซึ่งเกลือแร่และวิตามิน พบมากในผักผลไม้ โดยเลือกทานให้มีความหลากหลายจะได้ประโยชน์สูงสุด

              นอกจากจะทานอาหารคลีน หรือ Healthy Food แล้ว สิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากคือการออกกำลังกาย ควบคุมอารมณ์ความรู้สึก ไม่เครียด ไม่หมกหมุ่นจนเกินไป นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เพียงเท่านี้การมีสุขภาพที่ดีก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแล้ว

เครดิตภาพ : ensurecommunication.co.th / chaidim.com / สุขภาพน่ารู้.net

YouTube :

ทำความรู้จักกับ Clean Food ตอนที่ 1 by หมอแอมป์

ทำความรู้จักกับ Clean Food ตอนที่ 2 by หมอแอมป์ 

#Healthy Food #Clean Food #สุขภาพกับอาหาร