โรคลมแดด (Heat stroke) อันตรายถึงตายได้หากไม่ป้องกัน

ในช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ร่างกายของเราปรับตัวกับสภาพอากาศที่ร้อนจัดไม่ได้ ก่อให้เกิดภาวะเป็นโรคลมแดดเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง เช่น กรรมกร ชาวนา ชาวไร่ เป็นต้น ซึ่งโรค Heat stroke หรือโรคลมร้อน ลมแดดนี้เป็นอันตรายเป็นอย่างมาก พบว่ามีอัตราการเสียชีวิตมีมากกว่าร้อยละ 10-50 และผู้ที่รอดชีวิตจากโรคนี้จะมีความพิการทางระบบประสาทถาวรมากถึงร้อยละ 7-20 ดังนั้นในช่วงที่มีอากาศร้อน ๆ ควรนำวิธีป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นไปใช้กัน

โรคลมแดดอันตรายถึงตายหากไม่รีบป้องกัน

                  1. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ ต่อความต้องการของร่างกายที่อยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนจัด โดยไม่ต้องรอให้กระหายน้ำ และงดดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์

                  2. สวมใส่เสื้อผ้าสีอ่อน โดยใส่แบบหลวม ๆ ไม่ต้องรัดแน่นจนเกินไป ที่สำคัญควรเป็นเสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้เป็นอย่างดี

                  3. เลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้องรัง หากอยู่ในสภาพอากาศที่มีความร้อนสูง ระบบกลไกการระบายและควบคุมความร้อนในร่างกายจะทำงานล้มเหลว ทำให้ไม่สามารถปรับตัวได้กับความร้อน ส่งผลให้อุณหภูมิแกนสูงขึ้นมากกว่า 40 องศาเซลเซียส ทำให้เกิดเป็นโรค Heat stroke ขึ้นได้ ดังนั้นเมื่อสภาพอากาศร้อนจัดควรงดทำกิจกรรมกลางแจ้ง

                  4. เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ดังนั้นเมื่อมีความจำเป็นต้องจัดกิจกรรมกลางแจ้ง ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษในกลุ่มที่อาจจะเกิดโรคนี้ขึ้นได้ รวมไปถึงการจัดสถานที่เฉพาะที่มีอากาศถ่ายเท และให้คำแนะนำการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคลมแดดเกิดขึ้นด้วย

โรคลมแดดอันตราย สร้างความเสียหายแก่ร่างกาย

                  การเกิดโรคลมแดดขึ้นจะทำให้เกิดภาวะสมองบวม ขาดเลือด และเมแทบอลิสมผิดปกติ ทำให้ประสาทส่วนกลางทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งอาจจะมีความรุนแรงแตกต่างกันออกไปในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการสับสน กระสับกระส่าย ปวดหัว คลื่นไส้ บางรายอาจอาเจียนออกมาได้ นอกจากนี้อาจเกิดอาการเดินเซ ชักเกร็ง และหมดสติร่วมด้วยเมื่อมีความรุนแรงมาก ๆ และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องผู้ป่วยอาจจะมีความพิการทางระบบประสาทอย่างถาวร นอกจากนี้อาจส่งผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากผู้โรค Heat stroke จะมีภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง ทำให้ปริมาณเลือดในร่างกายมีจำนวนน้อย และมีการคลายตัวหลอดเลือดส่วนปลาย ส่งผลให้ความดันเลือดต่ำ หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ บางรายหัวใจอาจเต้นไม่เป็นจังหวะร่วมด้วย หากผู้ป่วยที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงระว่าง 42-44 องศาเซลเซียส เลือดอาจจะความเข้มข้นสูงการไหลเวียนเลือดจึงไม่เป็นปกติ อาจก่อให้เกิดลิ่มเลือดเล็ก ๆ กระจายตัวในหลอดเลือด ทำมีมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ยิ่งไปไปนั้นอาจมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้ลำบากเฉียบพลัน รวมถึงกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร และระบบทางเดินปัสสาวะอีกด้วย

              ผู้ป่วยโรค Heat stroke ควรได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในการอุณหภูมิในร่างกายให้เป็นปกติ ซึ่งเบื้องต้นอาจใช้น้ำพรมตามร่างกาย และใช้พัดลมเป่าให้น้ำระเหย หรืออาจใช้ถุงน้ำเย็นประคบตามรักแร้ คอ หลัง ขาหนีบของผู้ป่วย ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาโดยทันที อาการอาจจะรุนแรงจนไม่อาจกลับมาใช้ชีวิตตามปกติหรืออาจจะเสียชีวิตได้ ดังนั้นควรป้องกันไม่ให้ตัวเองเป็นโรคนี้จะเป็นการดีที่สุด

เครดิตภาพ : pobpad.com / thaihealth.or.th / pharmacy.mahidol.ac.th

Youtube : https://www.youtube.com/watch?v=xK-qkAWp_Y0 คุยรอบโรคกับหมอสมิติเวช ตอน โรคลมแดด (Heat Stroke)

https://www.youtube.com/watch?v=OAXwBX_IO8c โรคลมแดด (Heat Stroke)

#Heat stroke #โรคลมแดด #อันตรายจาก Heat stroke