แครอทเป็นแหล่งที่ดีของเบต้าแคโรทีนซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ แต่เพื่อให้ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากอาหารดังกล่าว ร่างกายจำเป็นต้องมีเอนไซม์ที่บางอย่างเพื่อสร้างวิตามินนี้ สำหรับสารเบต้าแคโรทีนเป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ทำให้แครอทมีสีส้ม มีผลการศึกษาในมนุษย์และสัตว์ทดลองที่แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนเบต้าแคโรทีนเป็นวิตามินเอจะช่วยลดคอเลสเตอรอลที่ “ไม่ดี” ในเลือดได้ เพราะฉะนั้นเบต้าแคโรทีนจึงมีบทบาทในการป้องกันการพัฒนาของหลอดเลือดที่นำไปสู่การสะสมไขมันและคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดแดง ทั้งนี้โรคหัวใจและหลอดเลือดในหลอดเลือดเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตทั่วโลก ร่างกายต้องใช้เอนไซม์บางอย่างเปลี่ยนเบต้าแคโรทีนเป็นวิตามินเอ เบต้าแคโรทีนเปลี่ยนเป็นวิตามินเอด้วยความช่วยเหลือของเอนไซม์ที่เรียกว่า เบต้าแคโรทีน ออกซิเจเนส 1 ทั้งนี้พันธุกรรมจะเป็นตัวกำหนดว่าร่างกายแต่ละคนมีเบต้าแคโรทีนออกซิเจเนส 1 อยู่มากหรือน้อย โดยคนที่มีเอนไซม์ชนิดนี้น้อยก็อาจต้องการวิตามินเอ…